The Flinstones - Pebbles

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วันที่ 13 ธันวาคม 2556

          กิจกรรมที่ทำในวัน อาจารย์ได้แจกรูปเรขาคณิตให้กับนักศึกษา  และให้นำรูปเรขาคณิตที่เลือกมานั้นเป็นส่วนประกอบหลักในการคิดสร้างสรรค์การวาดรูปสัตว์ออกมาเป็นตัวต่าง ๆ ซึ่งรูปเรขาคณิตที่อาจารย์นำมาให้เลือกนั้นประกอบด้วย รูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม และรูปสามเหลี่ยม
          ดิฉันได้เลือกรูปเรขาคณิตที่เป็น รูปสามเหลี่ยม และนำมาวาดรูปให้เป็นรูป ยีราฟคอยาว

ผลงาน ยีราฟคอยาว ของดิฉัน

                  สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรม  กิจกรรมนี้จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องรูปทรงเรขาคณิต ไม่ว่าจะเป็นรูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม และรูปสามเหลี่ยมผ่านกิจกรรมการเล่น  เด็กจะได้ใช้จินตนาการและประสบการณ์เดิมในการสร้างสรรค์รูปภาพสัตว์ต่างๆ ให้ออกมาสวยงาม



วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วันที่ 6 ธันวาคม 2556

        เนื้อหาที่เรียนในวันนี้  อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน  โดยให้เพื่อน ๆ ช่วยกันประเมินคะแนนที่แต่ละกลุ่มได้รับ  ซึ่งคะแนนส่วนหนึ่งจะมาจากอารย์ผู้สอนและคะแนนอีกส่วนจะมาจากเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน

             กลุ่มที่ 1 เรื่องจำนวนและการดำเนินการ  
     1. สามารถนับปากเปล่าจาก 1ถึง 20 และนับถอยหลังจาก 10 ถึง 1 ได้
     2. บอกจำนวนสิ่งของต่าง ๆ ได้ไม่เกิน 20
     3. อ่านและเขียนตัวเลขได้


              กลุ่มที่ 2 เรื่องการวัด 
     1. วัดและบอกความยาวของสิ่งต่างๆรอบตัวได้
     2. ชั่งและบอกน้ำหนักของสิ่งต่างๆได้ 
     3. ตวงและบอกปริมาตรของสิ่งต่างๆได้ โดยใช้เครื่องที่เหมาะสม
     4. เปรียบเทียบขนาดจาดสิ่งที่เห็นได้
ความสูงของคน 1 คน เท่ากับ ความสูงของตุ๊กตา 3 ตัว

              กลุ่มที่ 3 เรื่องเรขาคณิต 
     1บอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง ของสิ่งต่างๆได้
     2. รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต ที่เด็กๆเห็นซึ่งอาจเหมือนหรือคล้าย ทรงกลม ทรงกระบอก สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงรีได้

            กลุ่มที่ 4 เรื่องพีชคณิต 
     1. สร้างแบบรูปตามความคิดของตนเองได้
     2. สามารถต่อแบบรูปตามรูปแบบที่กำหนดมาได้

           กลุ่มที่ 5 เรื่องวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  
     1. มีส่วนร่วมในการให้และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
     2. ตัวอย่างกิจกรรม เช่น การสุ่มหยิบลูกปิงปองในกล่อง ซึ่งลูกปิงปองมี 2 ลูก สีละลูกแล้วให้เด็กคาดว่าจะหยิบได้ลูกปิงปองสีอะไร

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2556


         เนื้อหาที่เรียนในวันนี้
               1. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
                       -  เด็กเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น  การรู้จักคำศัพท์  
                       -  เด็กพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น  การบวก ลบ 
                       -  เด็กได้รู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ 
                       -  ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง  
               2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
                       -  การสังเกต (Observation)  การใช้ประสาทสัมผัสเข้าไปมีปฏิสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย  
                       -  การจำแนกประเภท (Classifying)  เกณฑ์ความเหมือน  ความแตกต่าง  ความสัมพันธ์  

เมื่อนำภาพนี้ให้เด็กดู  แล้วบอกให้จำแนกประเภท 
เด็กแต่ละคนจะจำแนกออกมาในลักษณะที่แตกต่างกัน  ดังนี้

จำแนกประเภทตาม ลักษณะของสัญลักษณ์ที่เป็นวงกลมและสามเหลี่ยม

จำแนกประเภทตาม  สีของรูปที่เป็นสีแดงและสีน้ำเงิน

จำแนกประเภทตาม  ลักษณะสัญลักษณ์และสีของรูป

                         -  การเปรียบเทียบ (Comparing)  เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป  และเข้าใจลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ 
                         -  การจัดลำดับ (Ordering)  เป็นการเปรียบเทียบขั้นสูง 
                         -  การวัด (Measurement)  ได้แก่  อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ 
                         - การนับ (Counting)  เด็กชอบนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าจความหมาย 
                         - รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)  เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เรื่องนี้ก่อนเข้าโรงเรียน 

          กิจกรรมที่ทำในวันนี้   
                 อาจารย์ให้นักศึกษาทุกความวาดรูปวงกลมลงในกระดาษของตัวเองคนละ 1 รูป  และให้เขียนเลขที่ตนเองชอบคนละ 1 เลข หลังจากที่ทุกคนทำเสร็จ  อาจารย์ก็บอกให้ทุกคนตัดกระดาษเป็นกลีบดอกไม้ตามเลขที่ตนเองได้เขียนไว้  พร้อมทั้งตกแต่งให้สวยงาม

ผลงานของดิฉัน

            สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรม  คือ ทำให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเล่น  ฝึกการนับจากการทำกลีบดอกไม้  ได้ใช้ประสบการณ์และจินตนาการในการสร้างสรรค์ดอกไม้ให้ออกมาสวยงาม


วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2




บันทึกอนุทินครั้งที่ 2
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556

       เนื้อหาที่เรียนในวันนี้   
                ความหมายของคณิตศาสตร์  ระบบการคิดของมนุษย์  เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ในเชิงปริมาณ  โดยใช้ภาพ  สัญลักษณ์  การพูด  การเขียน  ซึ่งต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ  มีเหตุผล  และความคิดสร้างสรรค์  

                ความสำคัญของคณิตศาสตร์  ส่งเสริมประสบการณ์คิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์  เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้วิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน  

                ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget   
        1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส  ( แรกเกิด - 2ปี )  
        2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล  ( 2 - 7ปี )  



          ภาพแรก เมื่อคุณครูถามเด็กว่า น้ำในแก้วทั้ง 2 แก้วนั้น มีปริมาณเท่ากันหรือไม่ 
                         เด็กก็จะตอบว่า  เท่ากัน   


          ภาพที่สอง   เมื่อคุณครูถามเด็กว่า น้ำในแก้วทั้ง 2 นั้น มีปริมาณเท่ากันหรือไม่  
                              เด็กก็จะตอบว่า  ไม่เท่ากัน  
         เนื่องจากสิ่งที่เด็กๆ เห็นนั้นมีปริมาณที่ไม่เท่ากัน  คุณครูจึงต้องทำการทดลองเทน้ำจากแก้วเดิมใส่ในแก้วที่มีขนาดเล็กแต่ยาวกว่า  เพื่อให้เด็กเห็นว่า น้ำทั้ง 2 แก้วนั้นมีปริมาณที่เท่ากัน  

                 หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย  ผสมผสานคณิตศาสตร์เข้ากับการเล่น  ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ในการสร้างความเข้าใจ  ใช้คำถามปลายเปิด  และเชื่อมโยงความรู้เข้ากับชีวิตประจำวัน  

       กิจกรรมที่ทำในวันนี้  อาจารย์ได้ให้นักศึกษาวาดภาพสัตว์อะไรก็ได้ที่มีขาเยอะ ๆ มาคนละ 1 ภาพ  หลังจากที่ทุกคนวาดเสร็จ  อาจารย์ก็ได้บอกให้นักศึกษาตัดกระดาษสี เพื่อทำเป็นรองเท้าให้กับสัตว์น้อยขาเยอะของตัวเอง  ให้ครบทุกขา  ซึ่งดิฉันได้วาดภาพเป็นรูป แมงมุม 8 ขา  


     สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรม  กิจกรรมนี้จะช่วยส่งเสริมให้เด็กๆได้เรียนรู้ในเรื่องการนับจำนวน  การจับคู่จากขาของสัตว์ตัวต่างๆ ที่ตนเองวาด  หรือที่เพื่อนๆวาด  เด็กๆได้ใช้จินตนาและประสบการณ์เดิมในการวาดภาพ  และเด็กๆจะได้เรียนรู้ในเรื่องคณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรม ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน  และไม่ทำให้เกิดความเครียดจนเกินไป  



บันทึกอนุทินครั้งที่ 1


บันทึกอนุทินครั้งที่ 1
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2556


         เนื้อหาที่เรียนในวันนี้  อาจารย์ได้อธิบายรายวิชา  บอกข้อตกลงในการเรียนการสอน  และวิธีการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในห้องเรียน  
         กิจกรรมที่ทำในวันนี้  คือการทำ Mind Mapping เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยเป็นการสรุปโดยใช้ความเข้าใจ หรือความรู้เดิมของนักศึกษาแต่ละคน ซึ่งของดิฉันสรุปเป็นแผนผังความคิดได้ดังนี้  


           1. การจัดกิจกรรมบูรณาการทักษะทางคณิตศาสตร์ผ่านการเล่นหรือการใช้สื่อต่าง ๆ
           2. เรียนรู้ผ่านทางบทเพลง  
           3. สอดแทรกเรื่องการนับเลข  หรือรูปทรงต่าง ๆ ผ่านการเรียนรู้  
           4. ให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเล่น  เช่น  การเล่นไม้บล็อก  เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรง  
           5. ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องขนาด น้ำหนัก หรือความยาวจากวัดใกล้ตัว เช่น เปรียบเทียบขนาดลูกบอล  หรือความยาวของไม้บรรทัด 
           6. การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนให้ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์  
           7. สร้างสื่อการเรียนการสอนที่เน้นส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก