The Flinstones - Pebbles

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9
วันที่ 31 มกราคม 2557

                  กิจกรรมที่ทำในวันนี้  คือ นำเสนอสื่อการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ซึ่งสื่อของกลุ่มดิฉันมีชื่อว่า  FUNNY  BOX หรือ กล่องรูปทรงมหาสนุก 



  วิธีการเล่น
  • ให้เด็กนำรูปทรงเรขาคณิตใส่ในกล่องลูกบาศก์ให้ได้  และใส่จนครบทุกช่อง
  • อาจใส่ชิ้นส่วนรูปทรงเรขาคณิตตามสีต้นแบบ  หรือคนละสีก็ได้

  ประโยชน์
  • เด็กได้ฝึกทักษะด้านการจำ  การจำแนก  และการสังเกต
  • เด็กได้รู้จักรูปทรงเรขาคณิตตาง ๆ เช่น สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม  วงกลม
  • เด็กได้รู้จักการกะขนาดของชิ้นส่วนต่าง ๆ
  • เด็กได้ฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา
  • เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และฝึกฝนทักษะในด้านร่างกายในร่างกาย  ทั้งกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก
  • เด็กได้รู้จักการเลือกใช้สี  ที่เหมือนหรือแตกต่างจากต้นแบบได้อย่างถูกต้อง


ผลงานสื่อที่ชอบ  มีชื่อว่า ฝาแฝด

เหตุผลที่ชื่นชอบ
  • เป็นเกมจับคู่รูปทรงเรขาคณิตที่มีการเปลี่ยนแปลง  ด้วยการตัด ต่อเติม
  • มีรูปร่างและสีสันที่สดใส ดึงดูดความสนใจของเด็ก
  • มีวิธีการเล่นที่ง่าย ไม่ซับซ้อน

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วันที่ 24 มกราคม 2557

           กิจกรรมที่ทำในวันนี้   อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม  กลุ่มละ 5 คน  แล้วให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนการสอนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย  โดยผ่านกิจกรรมหลัก   6  กิจกรรม  คือ
                               1.กิจกรรมเสรี / การเล่นตามมุม
                               2. กิจกรรมสร้างสรรค์
                               3. กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
                               4.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
                               5. กิจกรรมกลางแจ้ง
                               6.เกมการศึกษา

          กลุ่มดิฉันได้เลือกเขียนแผนเกี่ยวกับกิจกรรม รูปทรงเรขาคณิต  ชั้นอนุบาล 3


          แผนนี้เกี่ยวข้องกับวิชาคณิตศาสตร์ในเรื่อง  รูปเรขาคณิต   โดยการให้เด็กรู้จักรูปเรขาคณิตสองมิติ ซึ่งประกอบด้วยรูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม  และรูปสี่เหลี่ยม จากการที่ครูนำภาพอุปกรณ์เครื่องใช้รูปแบบต่าง ๆ มาให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่าจากภาพอุปกรณ์ที่ได้เห็นนั้นเป็นรูปทรงเรขาคณิตอะไรบ้าง  จากนั้นก็แจกกระดาษรูปเรขาคณิตให้กับเด็ก ๆ เพื่อให้เด็กสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากรูปเรขาคณิตตามจินตนาการของตนเอง
         การเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์อ้างอิงมาจาก กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยและหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 หากเด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นกิจกรรมต่าง ๆ แล้วเด็กก็จะเกิดการเรียนได้ดี และเข้าใจง่าย โดยการเรียนรู้นั้นจะผ่านจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 จากการลงมือปฏิบัติจริงของเด็ก 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7



บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วันที่ 17 มกราคม 2557

กิจกรรมที่ทำในวันนี้  วันนี้อาจารย์มอบหมายงานกลุ่ม 2 งาน 
งานที่  1  ทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้ที่ 5 คือ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
งานที่  2  ทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้ที่ 4 คือ พีชคณิต

กิจกรรมที่ 1
กลุ่มของดิฉันเลือกทำ แผนภูมิแท่ง ในหัวข้อ การจำแนกประเภทสัตว์ที่ออกลูกเป็นตัว - ไข่

ผลงานสื่อของกลุ่มดิฉัน
ภาพการนำเสนอผลงานสื่อ
          วิธีการนำเสนอ
   1. สอบถามถึงความรู้เดิมของเด็ก ว่าเด็กๆนั้นรู้จักสัตว์อะไรกันบ้าง
   2. จากนั้นนำภาพสัตว์แต่ละชนิดให้เด็ก ๆ ดู แล้วให้เด็กตอบว่า สัตว์ที่ได้เห็นนั้นตัวใดบ้างที่ออกลูกเป็นตัว  และตัวใดบ้างที่ออกลูกเป็นไข่
   3. คุณครูเขียนชื่อสัตว์ลงในแผนภูมิตามที่เด็ก ๆ บอก
   4. สรุปกิจกรรมโดยให้เด็กดูจากแผนภูมิ ว่าสัตว์ชนิดใดออกลูกเป็นตัว และสัตว์ชนิดใดออกลูกเป็นไข่


กิจกรรมที่ 2 
กลุ่มของดิฉันเลือกทำตัวหนอนพีชคณิตจาก  เครื่องใช้ภายในบ้าน  ที่มีลักษณะเป็นวงกลม สามเหลี่ยม  และสี่เหลี่ยม  ซึ่งกลุ่มของเราเลือกทำเป็นรูปนาฬิกา  เตารีด  และโทรทัศน์


         สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรม  
            กิจกรรมที่ 1 สามารถนำเทคนิคการสอนของแต่ละกลุ่มไปปรับใช้ในอนาคตได้  เพื่อความหลากหลายในการสอนเด็ก  ไม่ให้เด็กรู้สึกเบื่อกับการสอนแบบเดิม และยังทำให้เด็กเกิดความรู้ใหม่ ๆ จากการฟังเพื่อนๆและคุณครู
           กิจกรรมที่ 2 การนำเรื่องพีชคณิตมาสอนเด็กในเรื่องต่าง ๆ ตัวอย่างเช่นผลงานของกลุ่มดิฉัน  จะช่วยให้เด็กได้เรื่องรู้ทั้งในเรื่องรูปเรขาคณิต  สีสันต่าง ๆ  อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน เป็นต้น


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วันที่ 10 มกราคม 2557


            เนื้อหาที่เรียนในวันนี้  คือเรื่อง กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย  ซึ่งเป็นการให้เด็กเตรียมความพร้อมด้าน ๆ ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา
                   
            สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
    สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง  คือ รู้ค่าของจำนวน การเรียง การปรียบเทียบจำนวน  การรวมและการแยกกลุ่มจำนวนไม่เกิน 10

ภาพนี้สามารถให้เด็กเรียนรู้เรื่องจำนวนและการดำเนินการได้

    สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา คือ เปรียบเทียบการวัด การชั่ง ปริมาตร  รู้ชนิดและค่าของเงิน  รู้ช่วงเวลา และชื่อวันในสัปดาห์

ภาพการเรียนรู้เรื่องการวัด

    สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง 
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต  และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

ภาพใช้ในการสอนเรื่องรูปเรขาคณิต

    สาระที่ 4 พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและสัมพันธ์ คือ  ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง  ขนาด  สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

ภาพใช้สำหรับการสอนเรื่องพีชคณิต

    สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม  และนำเสนอในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

    สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
การแก้ปัญหา  การใช้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์  และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วันที่ 13 ธันวาคม 2556

          กิจกรรมที่ทำในวัน อาจารย์ได้แจกรูปเรขาคณิตให้กับนักศึกษา  และให้นำรูปเรขาคณิตที่เลือกมานั้นเป็นส่วนประกอบหลักในการคิดสร้างสรรค์การวาดรูปสัตว์ออกมาเป็นตัวต่าง ๆ ซึ่งรูปเรขาคณิตที่อาจารย์นำมาให้เลือกนั้นประกอบด้วย รูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม และรูปสามเหลี่ยม
          ดิฉันได้เลือกรูปเรขาคณิตที่เป็น รูปสามเหลี่ยม และนำมาวาดรูปให้เป็นรูป ยีราฟคอยาว

ผลงาน ยีราฟคอยาว ของดิฉัน

                  สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรม  กิจกรรมนี้จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องรูปทรงเรขาคณิต ไม่ว่าจะเป็นรูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม และรูปสามเหลี่ยมผ่านกิจกรรมการเล่น  เด็กจะได้ใช้จินตนาการและประสบการณ์เดิมในการสร้างสรรค์รูปภาพสัตว์ต่างๆ ให้ออกมาสวยงาม



วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วันที่ 6 ธันวาคม 2556

        เนื้อหาที่เรียนในวันนี้  อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน  โดยให้เพื่อน ๆ ช่วยกันประเมินคะแนนที่แต่ละกลุ่มได้รับ  ซึ่งคะแนนส่วนหนึ่งจะมาจากอารย์ผู้สอนและคะแนนอีกส่วนจะมาจากเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน

             กลุ่มที่ 1 เรื่องจำนวนและการดำเนินการ  
     1. สามารถนับปากเปล่าจาก 1ถึง 20 และนับถอยหลังจาก 10 ถึง 1 ได้
     2. บอกจำนวนสิ่งของต่าง ๆ ได้ไม่เกิน 20
     3. อ่านและเขียนตัวเลขได้


              กลุ่มที่ 2 เรื่องการวัด 
     1. วัดและบอกความยาวของสิ่งต่างๆรอบตัวได้
     2. ชั่งและบอกน้ำหนักของสิ่งต่างๆได้ 
     3. ตวงและบอกปริมาตรของสิ่งต่างๆได้ โดยใช้เครื่องที่เหมาะสม
     4. เปรียบเทียบขนาดจาดสิ่งที่เห็นได้
ความสูงของคน 1 คน เท่ากับ ความสูงของตุ๊กตา 3 ตัว

              กลุ่มที่ 3 เรื่องเรขาคณิต 
     1บอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง ของสิ่งต่างๆได้
     2. รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต ที่เด็กๆเห็นซึ่งอาจเหมือนหรือคล้าย ทรงกลม ทรงกระบอก สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงรีได้

            กลุ่มที่ 4 เรื่องพีชคณิต 
     1. สร้างแบบรูปตามความคิดของตนเองได้
     2. สามารถต่อแบบรูปตามรูปแบบที่กำหนดมาได้

           กลุ่มที่ 5 เรื่องวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  
     1. มีส่วนร่วมในการให้และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
     2. ตัวอย่างกิจกรรม เช่น การสุ่มหยิบลูกปิงปองในกล่อง ซึ่งลูกปิงปองมี 2 ลูก สีละลูกแล้วให้เด็กคาดว่าจะหยิบได้ลูกปิงปองสีอะไร

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2556


         เนื้อหาที่เรียนในวันนี้
               1. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
                       -  เด็กเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น  การรู้จักคำศัพท์  
                       -  เด็กพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น  การบวก ลบ 
                       -  เด็กได้รู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ 
                       -  ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง  
               2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
                       -  การสังเกต (Observation)  การใช้ประสาทสัมผัสเข้าไปมีปฏิสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย  
                       -  การจำแนกประเภท (Classifying)  เกณฑ์ความเหมือน  ความแตกต่าง  ความสัมพันธ์  

เมื่อนำภาพนี้ให้เด็กดู  แล้วบอกให้จำแนกประเภท 
เด็กแต่ละคนจะจำแนกออกมาในลักษณะที่แตกต่างกัน  ดังนี้

จำแนกประเภทตาม ลักษณะของสัญลักษณ์ที่เป็นวงกลมและสามเหลี่ยม

จำแนกประเภทตาม  สีของรูปที่เป็นสีแดงและสีน้ำเงิน

จำแนกประเภทตาม  ลักษณะสัญลักษณ์และสีของรูป

                         -  การเปรียบเทียบ (Comparing)  เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป  และเข้าใจลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ 
                         -  การจัดลำดับ (Ordering)  เป็นการเปรียบเทียบขั้นสูง 
                         -  การวัด (Measurement)  ได้แก่  อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ 
                         - การนับ (Counting)  เด็กชอบนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าจความหมาย 
                         - รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)  เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เรื่องนี้ก่อนเข้าโรงเรียน 

          กิจกรรมที่ทำในวันนี้   
                 อาจารย์ให้นักศึกษาทุกความวาดรูปวงกลมลงในกระดาษของตัวเองคนละ 1 รูป  และให้เขียนเลขที่ตนเองชอบคนละ 1 เลข หลังจากที่ทุกคนทำเสร็จ  อาจารย์ก็บอกให้ทุกคนตัดกระดาษเป็นกลีบดอกไม้ตามเลขที่ตนเองได้เขียนไว้  พร้อมทั้งตกแต่งให้สวยงาม

ผลงานของดิฉัน

            สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรม  คือ ทำให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเล่น  ฝึกการนับจากการทำกลีบดอกไม้  ได้ใช้ประสบการณ์และจินตนาการในการสร้างสรรค์ดอกไม้ให้ออกมาสวยงาม